5. โรคหัวใจขาดเลือด
สาเหตุ
โรคหัวใจขาดเลือด เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรืออ้วนลงพุง เกิดจากมีไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดและอุดตันปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด หากร้ายแรงจะส่งผลให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือเสียชีวิตกะทันหันได้
อาการ
อาการของโรคหัวใจขาดเลือดในระยะที่ยังเป็นสัญญาณเตือนคือ จุกแน่นหน้าอก มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวสะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ หากรุนแรงจะส่งผลให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือเสียชีวิตกะทันหันได้
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
ควบคุมน้ำหนัก น้ำตาลในเลือด ไขมัน และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ควรตรวจเช็กสุขภาพร่างกายประจำปี
6. โรคไต
สาเหตุ
โรคไต เป็นอีกหนึ่งโรคคนแก่ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความเสื่อมสภาพของร่างกาย โดยไตจะทำหน้าที่ในการขับของเสียได้น้อยลง และเกิดการคั่งค้างของของเสียมากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติ
อาการ
สำหรับอาการของโรคไตที่สามารถพบได้ คือ อ่อนเพลีย มือเท้าบวม อ่อนล้า เหนื่อยง่าย ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร และระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ
การป้องกัน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด หรือหวานจัด
ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย หรือไม่น้อยกว่า 8 แก้วต่อวัน
ออกกำลังกายเป็นประจำประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ
ตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคไตเป็นประจำทุกปี
7. โรคอัลไซเมอร์
สาเหตุ
โรคอัลไซเมอร์ คือโรคคนแก่ที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในสมอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดน้อยลง
อาการ
อาการของโรคอัลไซเมอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
ด้านความจำ ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ หลงลืมสิ่งของ ถามซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม นำไปสู่การไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันของตนเองได้
ด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความผิดปกติทางจิต ผู้ป่วยจะมีหงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา เฉยเมย หรือขาดการยับยั้งชั่งใจ และร้ายแรงถึงขั้นประสาทหลอนได้
การป้องกัน
หมั่นสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง คนรอบข้าง ญาติพี่น้อง
หากิจกรรมฝึกสมองทำบ่อย ๆ เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ หรือเล่นเกม
ระมัดระวังการหกล้มที่จะกระทบกระเทือนต่อสมอง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์
ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
8. โรคกระดูกพรุน
สาเหตุ
โรคกระดูกพรุน มีสาเหตุมาจากการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายเสื่อมถอยลง ส่งผลให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง มักเกิดกับเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนและสูงอายุ
อาการ
อาการของโรคกระดูกพรุนจะเริ่มจากรู้สึกปวดบริเวณเอว หลัง หรือข้อมือ แล้วจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น จนทำให้รูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง
การป้องกัน
ออกกำลังกายเป็นประจำประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ทั้งหมดนี้ คือ 8 โรคคนแก่ที่ต้องคอยเฝ้าระวัง และสังเกตตนเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้ป้องกันและรักษา เพื่อบรรเทาความรุนแรงของโรคได้
ด้วยเพราะเข้าใจดีว่า อาการเจ็บป่วยจากความเสื่อมถอยของร่างกาย เป็นเรื่องที่ผู้สูงวัยทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถวางแผนเพื่อลดภาระค่ารักษาพยาบาล ด้วยประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรง (Early CI Care) จากโตเกียวมารีน ที่คุ้มครองตั้งแต่ตรวจพบ เป็นตัวช่วยทางการเงิน ให้คุณได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.