วิธีดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

วิธีรับมือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างราบรื่น

รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

เมื่อพ่อแม่และคนในครอบครัวอายุมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเป็นเหมือนฝันร้ายของลูกทุกคน โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องใช้ความเข้าใจเป็นอย่างมาก และเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่น เราจึงรวบรวมข้อมูลและวิธีรับมือผู้ป่วยอัลไซเมอร์มาให้ในบทความนี้แล้ว

 

รู้จักโรคอัลไซเมอร์ให้มากขึ้น

สิ่งแรกที่ควรรู้จักก่อนการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือ การทำความเข้าใจกับโรคให้มากขึ้น เพื่อเข้าใจถึงพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วยให้มากที่สุด โดยสามารถอธิบายถึงโรคอัลไซเมอร์ได้ว่า เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเซลล์สมองถูกทำลาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างเคย จนไม่สามารถดูแลตัวเองได้และเสียชีวิตไปในที่สุด ซึ่งโรคอัลไซเมอร์จะค่อย ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นระยะ ดังนี้

ระยะก่อนสมองเสื่อม

ระยะก่อนสมองเสื่อม คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการของความจำเสื่อม หรือปัญหาด้านความคิด ทำให้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และอาจมีปัญหาในการจดจำข้อมูลใหม่ แต่ยังไม่รุนแรงพอที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่หากเริ่มพบเห็นพฤติกรรมน่าสงสัยจากผู้ใหญ่ในบ้าน ก็สามารถพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและหาทางรักษาได้อย่างเหมาะสม

สมองเสื่อมระยะแรก

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สมองเสื่อมระยะแรก จะเริ่มสูญเสียความจำในระยะสั้น เช่น ความจำใหม่ หรือข้อมูลที่เพิ่งเรียนรู้มา ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานกว่าเดิม โดยจะเริ่มมีอาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีปัญหาเรื่องความจำระยะสั้น เช่น ลืมชื่อคน ลืมสิ่งที่เพิ่งทำ

  • มีปัญหาเรื่องสมาธิและความจดจ่อ

  • มีปัญหาในการวางแผนและตัดสินใจ

  • มีปัญหาด้านภาษา เช่น พูดวกวน ลืมคำศัพท์

  • มีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า

สมองเสื่อมระยะปานกลาง

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สมองเสื่อมระยะปานกลางเป็นระยะที่อาจต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะจะเริ่มหลงลืมและมีความสับสน ส่งผลให้เกิดปัญหามากขึ้นในด้านความจำ ความคิด พฤติกรรม และการใช้ภาษา โดยมีอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีปัญหาเรื่องความจำระยะยาว เช่น ลืมเหตุการณ์สำคัญในชีวิต

  • มีปัญหาด้านความคิด เช่น เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ยากขึ้น มีปัญหาในการคิดคำนวณ

  • มีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว แยกตัวจากสังคม

  • มีปัญหาด้านภาษา เช่น พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ

สมองเสื่อมระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สมองเสื่อมระยะสุดท้าย เป็นระยะร้ายแรงที่ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำทั้งในระยะสั้นและยาว รวมถึงความสามารถด้านต่าง ๆ ไปเกือบทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยมีอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ไม่สามารถจดจำหรือจำอะไรใหม่ ๆ ได้

  • ไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้

  • ไม่สามารถสื่อสารได้

  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

ทั้งนี้ อาการอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย แต่ไม่ว่าจะมีอาการอย่างไร การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอย่างใกล้ชิดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะในระยะสุดท้ายนี้จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการช่วยเหลือจากผู้อื่นในทุกด้าน จึงต้องมีวิธีรับมือผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมอย่างเหมาะสม

วิธีรับมือผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม

วิธีรับมือผู้ป่วยอัลไซเมอร์

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเป็นสิ่งที่ต้องใช้ 'ความเข้าใจ' อย่างที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำได้แม้แต่สิ่งเล็กน้อย จนอาจทำให้ผู้ดูแลรู้สึกหงุดหงิดใจได้ จึงมีวิธีรับมือผู้ป่วยโรคความจำโดยไม่ทำให้คนในครอบครัวหรือผู้ทำหน้าที่ดูแลต้องเสียสุขภาพจิตไปด้วย ดังนี้

วางแผนการดูแล

ควรวางแผนการดูแลร่วมกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมทุกด้าน ดังนี้

  • การดูแลด้านกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร

  • การดูแลด้านพฤติกรรม เช่น การรับมือกับพฤติกรรมก้าวร้าว หรือการเตรียมห้องสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการแยกตัวจากสังคม

  • การดูแลด้านสุขภาพ เช่น การทำกายภาพบำบัด การตรวจสุขภาพประจำปี

  • การเตรียมตัวสำหรับสถานพยาบาล เช่น การเลือกสถานพยาบาล การเตรียมเอกสารที่จำเป็น

นอกจากเตรียมแผนการดูแลแล้ว ผู้ดูแลควรเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องการเงินที่ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

แบ่งหน้าที่ในการดูแล

สิ่งสำคัญอีกประการคือ การแบ่งหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างเหมาะสม เนื่องจากการมอบหมายหน้าที่ให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลที่ต้องรับมือกับผู้ป่วยโดยไม่มีการหยุดพัก อาจก่อให้เกิดความเครียดสะสม จนส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ โดยอาจแบ่งหน้าที่ตามทักษะและความสะดวกของแต่ละคน เช่น ซึ่งสามารถเลือกแบ่งได้ตามการพูดคุยและตกลงกันของแต่ละบ้าน โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ป่วยควบคู่ไปกับสุขภาพจิตของผู้ดูแล เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

กำหนดกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

กำหนดรูปแบบกิจวัตรให้เหมือนกันทุกวัน โดยต้องปฏิบัติอย่างตรงเวลา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความสับสน โดยอาจมีการจดรายการกิจวัตรประจำวัน หรือประจำสัปดาห์ เพื่อเตือนความจำให้ผู้ป่วยสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง รวมถึงควรมีป้ายชื่อ หรือกระดาษที่ติดตามสิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลืมของใช้ของตัวเอง 

หลีกเลี่ยงการโต้เถียงกับผู้ป่วย

เนื่องด้วยอาการป่วยที่เกิดขึ้นอาจทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าว ดังนั้น การโต้เถียงกับผู้ป่วยก็มีแต่จะสร้างปัญหาให้มากขึ้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการรับฟังและหลีกเลี่ยงคำพูดหรือพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย เพราะการสร้างความขัดแย้งอาจกลายเป็นอุปสรรคในการดูแล อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการอธิบายที่ยืดยาว โดยเลือกใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ให้เวลากับตัวเอง

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่ยากลำบากไม่น้อย การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงอาจก่อให้เกิดความเครียดสะสมได้ การหาเวลาผ่อนคลายสำหรับดูแลสุขภาพกายและจิตใจของตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากรู้สึกว่าไม่ไหว ให้ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง หรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

 

วางแผนการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์สำหรับอนาคตเพื่อลดความกังวลใจ ด้วยประกันโรคร้ายแรง เออรี่ ซีไอ แคร์ (Early CI Care) จากโตเกียวมารีน ที่พร้อมแบ่งเบาภาระให้คุณตั้งแต่ตรวจพบในระยะเริ่มต้นของ 10 โรคร้ายแรงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์! รวมถึงให้ผลประโยชน์ความคุ้มครองการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยด้วย 46 โรคร้ายแรง 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น. 

ต้องการความช่วยเหลือในด้านอื่นหรือไม่

สามารถติดต่อเรา โดยเราจะรีบตอบกลับในเวลาอันรวดเร็ว

Choose your country or region

Visit HQ Pages

Tokio Marine Holdings
Tokio Marine Asia

Visit Country Pages

Select your location and language

Select Region
  • All

  • All

  • Asia Pacific

  • Australia

  • Americas

  • Europe

Country icon

Singapore

MY Icon

Malaysia

Philippines

Philippines

Malayan Insurance Co., Inc.
indonesia

Indonesia

thailand

Thailand

India

India

IFFCO-Tokio General Insurance
Vietnam

Vietnam

Tokio Marine Insurance Vietnam Company Limited
Myanmar

Myanmar

Australia

Australia

USA

USA

Tokio Marine Management Inc
USA

USA

First Insurance Company of Hawaii
USA

USA

Philadelphia Consolidated Holdings Corp
USA

USA

HCC Insurance Holdings
UK

UK

Tokio Marine Kiln Group Ltd
Cross

You are currently on a site outside of your country Switch to external site?

Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.

Cross

ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?

เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน