-----------------------------
‘ดื่มเหล้าระวังตับแข็ง’
คำกล่าวนี้อยู่คู่กับคนไทยมาทั้งชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว แอลกอฮอล์ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ 'ตับ' อวัยวะสำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร และยังมีตัวชี้วัดสำคัญที่เรียกว่า 'ค่าตับ' ซึ่งจะช่วยบ่งบอกว่าสุขภาพตับของคุณอยู่ไหนเกณฑ์ดีหรือกำลังเข้าขั้นวิกฤตแล้วอีกด้วย แล้วหากอยากเช็กตับด้วยตัวเองต้องทำอย่างไร สัญญาณเตือนอาการโรคตับเริ่มแรกมีอะไรบ้าง และถ้ามีภาวะค่าตับสูงห้ามกินอะไร มาค้นหาคำตอบได้ในบทความนี้
ตับเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อสีแดงเข้ม อยู่ในช่องท้องส่วนบนด้านขวา ใต้กะบังลมเยื้องไปทางขวา เหนือกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม มีความสำคัญต่อร่างกายหลายประการ ได้แก่
กรองและกำจัดสารพิษต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับ เช่น แอลกอฮอล์ ยา และสารเคมี โดยจะขับออกจากร่างกายในรูปแบบน้ำดี
ผลิตน้ำดีเพื่อช่วยย่อยไขมันและดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันมาใช้ประโยชน์ในร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินเค
สร้างโปรตีนหลายชนิดที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เช่น อัลบูมิน ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราของเหลวในหลอดเลือด
เก็บสะสมสารอาหาร เช่น ไกลโคเจน (น้ำตาลที่สะสมไว้) วิตามิน และแร่ธาตุ เพื่อใช้เมื่อร่างกายต้องการ โดยเฉพาะกลูโคส ซึ่งมีความจำเป็นเมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานอย่างรวดเร็ว
ผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การควบคุมความอยากอาหาร และการควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
เมื่อเป็นอวัยวะที่ต้องรับบทหนักในการดูแลร่างกาย จึงมีความเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ได้ไม่แพ้อวัยวะอื่น โดยโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อตับและพบมากในคนทั่วไป มีทั้งหมด 3 โรค เรียงตามระดับความรุนแรงได้ ดังนี้
เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับมากเกินไป มักพบในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นโรคเบาหวาน
ในระยะแรก โรคนี้อาจไม่แสดงอาการชัดเจน แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้ตับอักเสบ สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการลดการดื่มแอลกอฮอล์
มีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบ A, B, C การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อาการโรคตับอักเสบ เริ่มแรกจะรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง และตัวเหลืองตาเหลือง มีทั้งแบบเรื้อรังและแบบเฉียบพลัน
เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ตับ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากโรคตับเรื้อรังอื่น ๆ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และตัวเหลืองตาเหลือง การรักษาโรคมะเร็งตับมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
จากโรคตับทั้ง 3 ชนิดที่เรากล่าวถึงกันไปข้างต้น เชื่อว่าหลายคนคงตระหนักกับความสำคัญของการดูแลตับแล้วแน่นอน ซึ่งตัวชี้วัดสำคัญที่จะบอกว่าสุขภาพตับของคุณอยู่ในขั้นใด ยังทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่นั้น ก็คือ ‘ค่าตับ’ ที่ได้จากการตรวจเอนไซม์ในเลือด โดยเอนไซม์ที่สำคัญ ได้แก่
AST (Aspartate Aminotransferase) และ ALT (Alanine Aminotransferase) หากสูงกว่าปกติ แสดงว่าตับมีอาการอักเสบ
ALP (Alkaline Phosphatase) บ่งบอกการทำงานของท่อน้ำดี
ปัจจัยที่ทำให้ค่าตับสูง มีอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ การใช้ยาบางชนิด และอาการป่วยจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคไขมันพอกตับ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
อาหารต้องห้ามสำหรับผู้ที่มีปัญหาค่าตับสูง ได้แก่
แอลกอฮอล์ทุกชนิด
อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน
อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน
อาหารแปรรูปที่มีสารกันบูด
อาหารที่มีเกลือสูง
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณมาก
อาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค
หากคุณอยากป้องกันตัวเองจากค่าตับสูง นอกจากจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้แล้ว อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเรื่องที่ทำให้เครียด ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ รวมถึงการเกิดโรคมะเร็งตับ และตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อติดตามการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอด้วย
นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพแล้ว อย่าลืมหมั่นเช็กสุขภาพตับด้วยตัวเองว่าคุณเสี่ยงกับโรคร้ายที่เรากล่าวถึงไปทั้งหมดหรือไม่ โดยหากมีอาการเหล่านี้ ควรไปตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาความผิดปกติและดูแลสุขภาพตับให้แข็งในระยะยาว
อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
คลื่นไส้อาเจียน
เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะ ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา
สีอุจจาระและปัสสาวะผิดปกติ
มีภาวะผิวเหลือง ตาเหลือง
ระมัดระวังเรื่องการกินตั้งแต่วันนี้ ป้องกันโรคตับมาเยือนจนชีวิตตกอยู่ในอันตราย และสร้างความอุ่นใจให้ทุกการใช้ชีวิต ด้วยการทำประกันมะเร็งและประกันสุขภาพโรคร้ายแรงจากโตเกียวมารีนประกันชีวิต ครอบคลุมถึง 46 โรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ พร้อมทั้งคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทร. 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
ตับ & ไต…ทำไม? ต้องดูแลให้ดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/ตับ---ไต…ทำไม--ต้องดูแลให้ดี
ค่าตับสูงต้องดูแล เช็คลิสต์สาเหตุที่ส่งผลต่อสุขภาพตับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 จาก https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/gastrointestinal-liver-th/caused-of-elevated-liver-enzymes/
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน