/content/dam/tokiomarine/th/life/about-us/content/blog/nov2023/Tokio - Nov-blog10Productcategory260_150.png

มะเร็งปากมดลูกอันตรายไหม? มีอาการและวิธีป้องกันอย่างไร?

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน มาเก็บความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก สาเหตุ กลุ่มเสี่ยงและวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก

รู้ทันสาเหตุมะเร็งปากมดลูก

สำหรับผู้หญิงเรา นอกจากเรื่องความสวย ความงาม ที่ต้องให้ความใส่ใจอยู่เสมอแล้ว เรื่องสุขภาพภายในร่างกายและโรคร้ายต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ดังนั้น การหมั่นสังเกตอาการที่ผิดปกติในตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงตรวจภายในเป็นประจำ ก็สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายนี้ได้ ในบทความนี้จะมาสรุปความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก ทั้งเรื่องสาเหตุ กลุ่มเสี่ยง และวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เราสามารถทำได้ ตามมาดูได้ที่นี่

 

รู้จัก มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก หรืออวัยวะที่อยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โดยสาเหตุมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยไวรัสตัวนี้จะใช้เวลาเฉลี่ยราว 5-10 ปีในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อปากมดลูกปกติไปเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถรุกรานอวัยวะข้างเคียงและแพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

 

มะเร็งปากมดลูกอันตรายไหม?

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดที่อันตรายหากไม่ได้รับการรักษา และเซลล์มะเร็งก็อาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ และปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบและทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เรามารู้ทันสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ดังนี้

 

  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกระหว่างมีประจำเดือน หรือเลือดออกหลังหมดประจำเดือน

  • ตกขาวผิดปกติ เช่น มีตกขาวมากกว่าปกติ หรือตกขาวมีเลือดปน

  • อาการเจ็บปวดอุ้งเชิงกราน หลัง และขา

  • อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

  • มีอาการปัสสาวะขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แสบบริเวณช่องคลอด 

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

 

หากสาว ๆ มีอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจภายในอย่างละเอียด เพราะมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกมีโอกาสรักษาหายได้ 

 

กลุ่มเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะช่วง 16-17 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเติบโต จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากกว่าผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุมากขึ้น 

  • ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่มีคู่นอนคนเดียว เพราะมีโอกาสติดเชื้อ HPV จากคู่นอนได้มากกว่า

  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ทำให้เซลล์ปากมดลูกอ่อนแอลง จึงมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น

  • ผู้หญิงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่มีภูมิคุ้มกันปกติ

 

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยให้ตรวจพบและรักษามะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสหายขาดได้สูง

 

แพทย์แนะนำวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก

วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย : ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงเชื้อ HPV

หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลายคู่นอน : การมีเพศสัมพันธ์หลายคู่นอนเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV

ดูแลสุขภาพโดยรวม : แนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

ลดการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ : ลดการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อสุขภาพที่ดีโดยรวมและลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก

หมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือการเก็บตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูกไปตรวจหาความผิดปกติ ขอแนะนำให้เริ่มตรวจในผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป และควรตรวจทุกปีหรือทุก 2 ปี ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีน (HPV Vaccine) เป็นวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากที่สุด โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กผู้หญิง อายุ 9-14 ขวบ หรือผู้หญิงอายุ 15-26 ปีที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถฉีดได้ 3 เข็ม โดยในการฉีดครั้งแรก เข็มแรกและเข็มที่สองควรฉีดห่างกัน 2 เดือน และเข็มที่สามฉีดห่างกัน 6 เดือน หลังฉีดอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงนัก และสามารถหายไปเองภายในไม่กี่วัน

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

อาการปวดหรือบวมบริเวณที่ฉีด

อ่อนเพลีย

ปวดศีรษะ

คลื่นไส้

อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็สามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ แต่อาจไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากวัคซีน ถึงอย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก

การตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนควรใส่ใจ ขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพผู้หญิง จากโตเกียวมารีน ที่จะช่วยสร้างความอุ่นใจให้คุณผู้หญิงได้ เพราะให้ความคุ้มครองพิเศษจากการเกิดโรคร้ายแรงที่พบเฉพาะในผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งมดลูก หากสนใจเข้ามาปรึกษาโตเกียวมารีนได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.

 

ข้อมูลอ้างอิง:

1.มะเร็งปากมดลูก ป้องกันง่ายนิดเดียว. สมิติเวช สุขุมวิท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/มะเร็งปากมดลูก

2.มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้. โรงพยาบาลเพชรเวท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Cervical-cancer

3.มะเร็งปากมดลูก รู้เร็ว รักษาได้. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/pr-news/9989/

ต้องการความช่วยเหลือในด้านอื่นหรือไม่

สามารถติดต่อเรา โดยเราจะรีบตอบกลับในเวลาอันรวดเร็ว

Choose your country or region

Visit HQ Pages

Tokio Marine Holdings
Tokio Marine Asia

Visit Country Pages

Select your location and language

Select Region
  • All

  • All

  • Asia Pacific

  • Australia

  • Americas

  • Europe

Country icon

Singapore

MY Icon

Malaysia

Philippines

Philippines

Malayan Insurance Co., Inc.
indonesia

Indonesia

thailand

Thailand

India

India

IFFCO-Tokio General Insurance
Vietnam

Vietnam

Tokio Marine Insurance Vietnam Company Limited
Myanmar

Myanmar

Australia

Australia

USA

USA

Tokio Marine Management Inc
USA

USA

First Insurance Company of Hawaii
USA

USA

Philadelphia Consolidated Holdings Corp
USA

USA

HCC Insurance Holdings
UK

UK

Tokio Marine Kiln Group Ltd
Cross

You are currently on a site outside of your country Switch to external site?

Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.

Cross

ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?

เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน

Tokio Marine Life Thailand