-----------------------------
การพลัดตกหกล้มในผู้ใหญ่ เป็นอุบัติเหตุที่หลายคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะนอกจากจะสร้างความบาดเจ็บให้แก่ผู้สูงอายุแล้ว ยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวอีกด้วย การป้องกันการพลัดตกหกล้มอย่างถูกวิธี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลและคนในครอบครัวไม่ควรมองข้าม และต้องทำอย่างถูกต้องเหมาะสม
การพลัดตกหกล้มเป็นอุบัติเหตุที่เกิดได้บ่อยสำหรับผู้สูงวัย และส่งผลกระทบร้ายแรงหลายด้าน ดังนี้
การหกล้มในผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นการลื่นล้มในห้องน้ำ การตกบันได หรือตกเตียง ล้วนเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายที่รุนแรง เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อที่เสื่อมถอยตามวัย อาจทำให้กระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวณสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังอาจเกิดการฟกช้ำ บาดแผล หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
นอกเหนือจากความเจ็บปวดทางกาย การพลัดตกหกล้มยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุอย่างมาก อาจเกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า และความกลัวที่จะเกิดการหกล้มซ้ำ ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำกัดการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางสังคม นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ลดลง
หากเกิดการพลัดตกหกล้มที่รุนแรง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกหัก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น แผลกดทับ ปอดบวม และการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ในการรักษาอาการบาดเจ็บเนื่องจากการพลัดตกหกล้มของผู้ใหญ่มักมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะต้องให้การดูแลระยะยาวหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินให้แก่ผู้สูงอายุและครอบครัว
ปัจจัยภายนอกที่มักก่อให้เกิดการหกล้มของผู้ใหญ่ที่สามารถพบได้โดยทั่วไป มีดังนี้
1.พื้นลื่น หรือพื้นที่ต่างระดับ
พื้นที่เปียกแฉะ พื้นขัดมันเกินไป หรือพื้นที่มีระดับไม่เท่ากัน เช่น พื้นห้องน้ำ ขั้นบันได หรือทางที่ลาดชัน ล้วนเพิ่มความเสี่ยงในการลื่นล้มหรือสะดุด
2.สิ่งกีดขวางทางเดิน
เฟอร์นิเจอร์ที่วางไม่เป็นระเบียบ สายไฟที่พาดอยู่บนพื้น หรือขอบพรมที่ม้วนงอ เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุสะดุดและล้มได้
3.รองเท้าไม่เหมาะสม
การที่ผู้สูงอายุสวมรองเท้าที่หลวมเกินไป พื้นรองเท้าที่ลื่น หรือส้นรองเท้าที่สูง ทำให้การทรงตัวไม่มั่นคง และมีโอกาสที่จะล้มได้ง่าย
4.แสงสว่างไม่เพียงพอ
พื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อยเกินไป โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นสิ่งกีดขวางหรือพื้นผิวที่ไม่เรียบได้ยาก
สภาวะทางร่างกายและปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ นับเป็นปัจจัยภายในที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.เคลื่อนไหวไม่สะดวก
กล้ามเนื้อและกระดูกที่อ่อนแอ ความยืดหยุ่นของข้อต่อที่ลดลง ทำให้การทรงตัวไม่ดี รวมถึงระบบประสาทที่เสื่อมถอย ส่งผลให้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมช้าลง
2.มองไม่ชัด
ปัญหาทางสายตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือจอประสาทตาเสื่อม ส่งผลให้การมองเห็นในช่วงกลางวันไม่ชัดเจน และการมองเห็นในที่มืดหรือแสงสลัวก็แย่ยิ่งขึ้น
3.โรคประจำตัว
การเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคพาร์กินสัน รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ทำให้เวียนศีรษะ หรือง่วงซึม ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เมื่อพบผู้สูงอายุหกล้ม การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและอย่างทันท่วงที นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมีวิธีการพยาบาลพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
ประเมินสถานการณ์ ด้วยการตรวจสอบที่เกิดเหตุ และความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
พูดคุย เพื่อเรียกสติ และทำให้ผู้สูงอายุไม่ตื่นตระหนก
ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ เพราะอาจทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้น
หากมีเลือดไหลให้ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณที่มีเลือดออกเพื่อห้ามเลือด
หากมีบาดแผล ให้ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ หรือถ้ามีรอยฟกช้ำ ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีรอยฟกช้ำเพื่อลดอาการบวม
หากพบว่ามีกระดูกแขนหรือขาหัก ให้ดามอวัยวะไว้กับแผ่นไม้กระดาน เพื่อลดการเคลื่อนไหวของอวัยวะส่วนนั้น
รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
1. จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านให้เหมาะสม
กำจัดสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่วางเกะกะ สายไฟที่พาดอยู่บนพื้น หรือพรมที่ไม่เรียบ
ติดตั้งราวจับในห้องน้ำ บันได หรือบริเวณที่ต้องลุกนั่งบ่อย ๆ
เพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
ใช้แผ่นกันลื่นในห้องน้ำและบริเวณที่อาจเปียกชื้น
2. ส่งเสริมกำลังของกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น แต่ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอายุ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ควรวิ่ง
3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลุก นั่ง ยืน เดิน โดยให้เปลี่ยนท่าทางช้าลง และควรมีที่จับยึดที่มั่นคงก่อน ค่อยลุกหรือนั่ง อีกทั้งสำหรับผู้สูงอายุที่เดินเหินไม่ค่อยสะดวก ควรหัดใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น วอล์กเกอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นคอกอะลูมิเนียมที่มี 4 ขา หรือใช้ไม้เท้า
4. หมั่นดูแลสุขภาพ และปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การใช้ยาให้ครบตามกำหนด รวมถึงการทำกายภาพเป็นประจำ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การพลัดตกหกล้มนั่นเอง
สำหรับลูกหลานที่มีความกังวลเกี่ยวค่ารักษาพยาบาลหากเกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เรามีทางออกดี ๆ มาแนะนำ คือการทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และเป็นหลักประกันในการเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ สนใจเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Care จากโตเกียวมารีนประกันชีวิต หรือลงทะเบียนเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากเรา รวมถึงโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทร. 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/cms-of-15/download/?did=213400&id=91524&reload=
ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 จาก http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2020/10/edit-03122020-17.pdf
การหกล้มในผู้สูงอายุ อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวังไว้เพื่อคนที่คุณรัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/548
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน