-----------------------------
ความดันต่ำ หรือ Hypotension นับเป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตมีค่าต่ำกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตต่ำเมื่อค่าความดันซิสโตลิก (ตัวบน) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโตลิก (ตัวล่าง) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท
ความดันต่ำในทางการแพทย์ มักจะไม่ถูกจัดเป็น "โรค" แต่จัดเป็น "ภาวะ" แทน เนื่องจากเป็นความเสี่ยงที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวด้วย
ค่าความดันต่ำที่อันตราย คือค่าความดันที่ต่ำกว่า 60/40 มิลลิเมตรปรอท อยู่ในระดับที่ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข โดยผู้ป่วยที่เข้าข่ายความดันต่ำกว่าเกณฑ์จะมีอาการสับสน อ่อนแรง เป็นลม ฯลฯ แต่ถ้าหากความดันต่ำกว่า 50/33 มิลลิเมตรปรอท จะอยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องรีบได้รับการรักษาจากแพทย์โดยทันที เพราะผู้ป่วยเสี่ยงต่ออาการโคม่า และเสียชีวิตได้
ระดับความดัน |
ค่าตัวบน (Systolic) |
ค่าตัวล่าง (Diastolic) |
---|---|---|
ความดันปกติ | ไม่เกิน 120 mmHg | ไม่เกิน 80 mmHg |
ความดันต่ำ | 90 mmHg |
60 mmHg |
ความดันต่ำมาก | 60 mmHg | 40 mmHg |
ความดันต่ำวิกฤต | ≤ 50 mmHg | ≤ 33 mmHg |
ปัจจุบันภาวะความดันต่ำสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยในแต่ละประเภทมีลักษณะและสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถกะทันหัน: เกิดขึ้นเมื่อลุกขึ้นยืนหรือเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียน ตาพร่า หรือเป็นลมได้ภายใน 5-10 นาทีหลังจากเปลี่ยนท่า
ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหาร: พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากเลือดไหลไปยังระบบทางเดินอาหารมากเกินไปหลังรับประทานอาหาร อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนหรือหน้ามืดได้
ความดันโลหิตต่ำจากความผิดปกติของสมอง: เกิดขึ้นหลังจากยืนเป็นเวลานาน มักพบในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นผลมาจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างหัวใจและสมอง
ความดันโลหิตต่ำเนื่องจากความเสียหายของระบบประสาท: เป็นโรคที่พบได้น้อย ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งควบคุมการทำงานของระบบอัตโนมัติในร่างกาย เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการย่อยอาหาร ผู้ป่วยอาจมีความดันโลหิตสูงมากในขณะนอนราบ แต่ต่ำมากเมื่อลุกขึ้นยืน
วิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว
ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
คลื่นไส้
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
หน้ามืด เป็นลม (ในกรณีที่รุนแรง)
แม้ว่าความดันต่ำอาจไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากับความดันโลหิตสูง แต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะอันตรายที่ร้ายแรงได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และนี่ก็คือ 4 ภาวะอันตรายที่อาจเกิดการแทรกซ้อนได้
เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก จะทำให้ร่างกายจะไม่สามารถส่งเลือดและออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะหลายส่วน มีอาการช็อก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ความดันโลหิตต่ำ คือตัวการที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial Ischemia) หรือในกรณีที่รุนแรง อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "หัวใจวาย" ได้
ปกติแล้วไตมีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียออกจากเลือดและ ควบคุมสมดุลของน้ำ รวมถึงแร่ธาตุในร่างกาย เมื่อไตได้รับเลือดไม่เพียงพอจากภาวะความดันต่ำเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้
เมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือหมดสติได้ ในกรณีที่รุนแรง การขาดเลือดไปเลี้ยงสมองเป็นเวลานานอาจนำไปสู่ภาวะสมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์สมองอย่างถาวรได้
แม้ว่าความดันโลหิตต่ำจะเป็นภาวะไม่ใช่โรค แต่ก็ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น การหกล้มจากอาการวิงเวียน หรือภาวะช็อกในกรณีที่ความดันโลหิตต่ำมาก โดยวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพราะหากผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีก
หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการลุกขึ้นจากท่านอนหรือนั่ง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักเกินไป
พักผ่อนให้เพียงพอ นอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนเป็นเวลานาน
ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อติดตามความดันโลหิตและสุขภาพโดยรวม
ชาโสมและชาขิง: ชาโสมมีคุณสมบัติช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายให้สมดุล ช่วยบรรเทาอาการเวียนศีรษะและหน้ามืด ส่วนชาขิงมีสาร Gingerol ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและลดอาการอักเสบ การดื่มชาเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตได้ดี
ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง: อย่างส้มและมะขามป้อมอุดมไปด้วยวิตามินซีและโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการไหลเวียนของเลือดและลดความดันโลหิต นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกด้วย
อาหารทะเล: ปลาซาร์ดีน หอยนางรม และสาหร่ายทะเลเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยความดันต่ำ ปลาซาร์ดีนอุดมไปด้วยโอเมก้า-3 ที่ช่วยในการไหลเวียนของเลือด ส่วนหอยนางรมและสาหร่ายทะเลมีธาตุเหล็กและไอโอดีนสูง ช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและปรับสมดุลความดันโลหิต
ธัญพืช: ข้าวกล้อง ข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันต่ำ เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินบีและแร่ธาตุที่จำเป็น ช่วยในการผลิตพลังงาน การทำงานของระบบประสาท และการไหลเวียนของเลือด
ไข่และเนื้อสัตว์: โดยเฉพาะเนื้อวัวและตับ มีวิตามินบี 12 และธาตุเหล็กสูง ซึ่งช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง การรับประทานอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มระดับฮีโมโกลบินในเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
อย่าละเลยสัญญาณเตือนจากร่างกาย หากคุณสงสัยว่าอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม และการมีประกันสุขภาพจะช่วยให้คุณมีความอุ่นใจและพร้อมรับมือกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะความดันโลหิตต่ำได้อย่างทันท่วงที
สำหรับใครที่ยังไม่มีแผนประกันไว้ให้อุ่นใจ โตเกียวมารีนประกันชีวิตขอแนะนำ Tokio Good Health แผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ครอบคลุม OPD และ IPD รวมถึงโรคร้ายแรงกว่า 18 โรค และให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในวงเงินสูง ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขได้บนเว็บไซต์โตเกียวมารีนประกันชีวิต หรือสนใจ อยากขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
ความดันโลหิตต่ำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 จาก https://www.bumrungrad.com/th/conditions/hypotension#:~:text=ติดต่อสอบถาม-,นัดหมายแพทย์,โรค แต่จัดเป็นภาวะ
ความดันต่ำ เท่าไหร่อันตราย!? รักษาด้วยตัวเองได้ไหม?. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 จาก https://allwellhealthcare.com/hypotension/
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน