-----------------------------
ภูมิแพ้ (Allergy) คือการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารที่ปกติแล้วไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป สารเหล่านี้เรียกว่า "สารก่อภูมิแพ้" (Allergens) เมื่อร่างกายสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะปล่อยสารเคมีเช่นฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ โดยมีอาการแพ้ที่แตกต่างกันแต่ละบุคคลและแต่ละสารก่อภูมิแพ้
ผื่นคัน: ผิวหนังแดง คัน หรือบวม
จามและน้ำมูกไหล: อาการที่เกิดจากการแพ้ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น หรือขนสัตว์
หายใจลำบาก: อาจเกิดจากการแพ้สารเคมีหรืออาหาร
บวมของลิ้นและลำคอ: อาการที่รุนแรงและต้องการการรักษาทันที
อาการแพ้สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับสารก่อภูมิแพ้:
ทันที (Immediate): อาการเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหลังจากสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น การแพ้แมลงกัดต่อยหรือยา
ปานกลาง (Intermediate): อาการเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง เช่น การแพ้อาหารบางชนิด
ระยะยาว (Delayed): อาการเกิดขึ้นภายในไม่กี่วัน เช่น การแพ้ยาบางชนิดหรือสารเคมีในเครื่องสำอาง
หยุดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ทันที: หากรู้ว่าสารอะไรเป็นตัวกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้นทันที
ใช้ยาแก้แพ้: สำหรับอาการแพ้เบาๆ เช่น จาม น้ำมูกไหล หรือผื่นคัน สามารถใช้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้
ล้างบริเวณที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้: ใช้น้ำสะอาดล้างบริเวณผิวหนังที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้เพื่อลดการระคายเคือง
ติดตามอาการ: หากอาการไม่ดีขึ้น หรือเริ่มมีอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ทันที
ภูมิแพ้บางชนิดอาจหายได้เอง: โดยเฉพาะในเด็กที่มีการแพ้อาหารบางชนิด เมื่อโตขึ้นระบบภูมิคุ้มกันอาจเปลี่ยนแปลงและไม่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นอีก
การรักษาและการป้องกัน: การใช้ยารักษาและการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีการที่ช่วยลดอาการและป้องกันการเกิดอาการในอนาคต
อาหาร เช่น ถั่วลิสง นม ไข่ อาหารทะเล
สารเคมี เช่น น้ำยาทำความสะอาด น้ำหอม
ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด
ละอองเกสรดอกไม้ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป
ขนสัตว์ เช่น ขนแมวและสุนัข ซึ่งจริงๆแล้ว เราแพ้สารที่มาจากน้ำลาย รังแคและต่อมเหงื่อของสัตว์นั้นเอง
แมลงกัดต่อย: เช่น ผึ้ง ต่อ มดแดง รวมถึงสัตว์เลื่อยคลานชนิดต่างๆ
อาการแพ้ที่รุนแรงที่สุดคือ แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้แก่
หายใจลำบาก
ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
ช็อก
การบวมของลิ้นและลำคอ
ผื่นคันทั่วร่างกาย
หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบไปโรงพยาบาลหรือเรียกรถพยาบาลทันที หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแจ้งเหตุต่างๆ สายด่วน 24 ชั่วโมง 1620
และหากมี อีพิเพน (EpiPen) ควรใช้งานทันทีเพื่อช่วยยับยั้งอาการเบื้องต้น
การตรวจเช็คอาการแพ้สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ โดยมีการตรวจหลายรูปแบบ เช่น
การทดสอบทางผิวหนัง (Skin Prick Test): ใช้เข็มเล็กๆ แทงที่ผิวหนังแล้วใส่สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เพื่อดูว่าผิวหนังจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
การทดสอบเลือด (Blood Test): การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น การทดสอบ IgE
การทดสอบรับประทาน (Oral Challenge Test): การรับประทานอาหารหรือยาที่สงสัยว่าแพ้ภายใต้การควบคุมของแพทย์
หลังจากนั้นแพทย์ระบุสารก่อภูมิแพ้ที่แน่นอน แนะนำการใช้ชีวิตและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดขึ้น และวิธีการรักษาเบื้องต้นหากเกิดอาการ อาจจะรวมถึงการวินิจฉัยจากครอบครัวและสภาพร่างกาย ณ ตอนนั้นด้วยเช่นกัน
การรักษาอาการแพ้ด้วยยามีหลายประเภท โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำยาแก้แพ้ที่เหมาะสม กับอาการและสารก่อภูมิแพ้ โดยหลักๆ มีอยู่ 4 ชนิด เช่น
ยาแก้แพ้ (Antihistamines): ช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล และผื่นคัน
ยาแก้แพ้แบบฉีด (Epinephrine): สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง (แอนาฟิแล็กซิส) ควรมีอีพิเพนติดตัวเสมอ
ยาสเตียรอยด์ (Steroids): ใช้ในกรณีที่มีการอักเสบและอาการแพ้รุนแรง
ยาลดการบวม (Decongestants): ช่วยลดการบวมและคัดจมูก
ย้ำกันอีกครั้ง การรับมือกับอาการแพ้ เช่น การตรวจเช็คสารก่อภูมิแพ้ และการใช้ยาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาภูมิแพ้ การปรึกษาแพทย์และการปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์จะช่วยให้ผู้ที่แพ้สามารถควบคุมอาการแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เมื่อเผชิญกับอาการแพ้ การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยการใช้ยาแก้แพ้และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ในกรณีที่อาการแพ้รุนแรง เช่น แอนาฟิแล็กซิส การได้รับการรักษาที่ทันเวลาและเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น การมีประกันสุขภาพหรือประกันค่ารักษาพยาบาลเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณได้รับการดูแลที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาในยามฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพและลดอาการป่วยหนักได้
อ้างอิง
Mayo Clinic. "Allergies." Mayo Clinic
American College of Allergy, Asthma, and Immunology. "Allergies." ACAAI
WebMD. "Anaphylaxis." WebMD
National Institutes of Health. "Anaphylaxis.
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน