ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
ผู้สูงอายุจะลื่นล้ม หกล้มได้ง่ายหากพื้นมีความลื่น มัน หรือเปียก เพราะจะทำให้เท้ายึดกับพื้นได้ไม่ดี ดังนั้นการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างเช่น เทปกันลื่น กระเบื้องกันลื่น แผ่นยางกันลื่นในห้องน้ำ ราวจับ และอื่น ๆ จะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านได้
การฝึกให้ผู้สูงอายุเดินอย่างช้า ๆ และมั่นคง
วิธีการเดินอย่างมั่นคง จะช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุได้ อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางคนอาจใจร้อน หรือมีความเร่งรีบบางอย่างทำให้เผลอเดินอย่างเร็วไว และขาดความระวัง ทำให้เสียหลัก และหกล้ม หรือลื่นล้มได้ง่ายขึ้น ทางที่ดีผู้ดูแลควรเน้นย้ำ และช่วยฝึกให้ผู้สูงอายุเดินให้ช้าลง และมั่นคงมากขึ้น
การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีความแข็งแรงของขาและเข่าที่น้อยลง จึงทำให้เดินไม่มั่นคงได้เท่าเดิม แต่การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้อุปกรณ์ช่วยเดินอย่าง ไม้เท้า หรือวอล์กเกอร์ เป็นประจำ จะช่วยให้ผู้สูงอายุเดินเหินได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ลดโอกาสที่จะเกิดการหกล้ม ลื่นล้มได้
สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าที่มีขนาดพอดี
นอกจากการใช้เครื่องมือช่วยเดินแล้ว การสวมเสื้อผ้าที่พอดี ไม่หลวมเกินไป ขากางเกงหรือกระโปรงไม่ยาวเกินไป ก็ยังช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน รวมถึงเลือกซื้อรองเท้าที่ใส่แล้วกระชับเท้าและไม่หลุดง่าย อย่างเช่นรองเท้าคัทชู รองเท้าผ้าใบให้ผู้สูงอายุใส่ด้วย
เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีความแข็งแรง
การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีความแข็งแรง มั่นคง ไม่โยก ไม่งอ จะเป็นการดีต่อผู้สูงอายุหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพราะจะช่วยให้พวกท่านมีสิ่งของที่มั่นคงให้ยึดจับ และอาจช่วยให้ท่านไม่ต้องล้มกระแทกอย่างรุนแรงได้
ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด
การดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และคอยสังเกตการมองเห็น การทรงตัว และความหลงลืมของพวกท่านเสมอ จะช่วยให้คุณหาทางป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อน และลดโอกาสที่พวกท่านจะเจ็บตัวจากการลื่นล้ม หกล้ม และอุบัติเหตุอื่น ๆ ได้
เลือกใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
เลือกใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น การดึงเชือก หรือกดปุ่ม และการใส่อุปกรณ์วัด Heart Rate ที่ติดตัวผู้สูงอายุได้ เช่น Apple Watch, Smart Watch และสายรัดข้อมืออื่น ๆ จะช่วยให้ผู้ดูแลและลูกหลานสามารถรับรู้ถึงอุบัติเหตุที่เกิดกับผู้สูงอายุได้ทันที และให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว
วิธีรับมืออุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
ประเมินสถานการณ์ และความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือเสมอว่าสามารถช่วยเหลือด้วยตัวเองได้หรือไม่
- เรียกรถพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุหากจำเป็น เช่น เมื่อคุณไม่รู้วิธีปฐมพยาบาลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี
- ห้ามขยับร่างกายของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุมีกระดูกหักหรือบาดเจ็บรุนแรง
- ห้ามให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำหรืออาหาร หากมีอาการหมดสติเพราะทำให้อาหารติดคอจนหายใจไม่ออกได้
- ให้ความอบอุ่นแก่ผู้สูงอายุหากอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็น เพื่อไม่ให้ร่างกายของผู้สูงอายุเข้าสู่สภาวะช็อก
- ผู้ดูแลควรให้ความใส่ใจและปลอบโยนจิตใจของผู้สูงอายุ เนื่องจากอุบัติเหตุอาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
ที่สำคัญคือ การเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุ PA สำหรับผู้สูงอายุในบ้านจากโตเกียวมารีนเอาไว้ อุ่นใจทั้งคุณ ทั้งท่าน เพราะจะได้รับความคุ้มครองในการรักษาพยาบาล โดยที่คุณไม่ต้องสำรองจ่าย และมีเวลาดูแลพวกท่านอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
- รวม 12 อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน ที่มีความสำคัญ ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 จาก https://modernformhealthcare.co.th/elderly-care-equipments/
- อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ที่ผู้ดูแลและลูกหลานควรระวัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 จาก www.nakornthon.com/article/detail/อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ผู้ดูแลและลูกหลานควรระวัง
- อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-accidents-in-the-elderly