1. ขั้นตอนการคำนวนภาษี
ในขั้นตอนนี้ เราสามารถคำนวนเบื้องต้นว่าเราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ จากสูตรคำนวนภาษีในอินเตอร์เน็ตทั่วไป จากเว็บไซต์ธนาคารและเว็บไซต์การเงินต่างๆ เพื่อคำนวนภาษี โดยมีข้อสังเกตดังนี้
- รายได้สุทธิต่อปี
(งานประจำ งานพิเศษ เงินพิเศษ เงินโบนัส) ที่ทำกับบริษัทนั้นๆ และรายได้จากบริษัทอื่นๆ คิดรวมกันเป็นรายได้สุทธิต่อปีได้เลย
- กรอกและรวบรวมรายจ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้
เช่น เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยบ้าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ค่าดูแลบิดา-มารดา เป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น
หลังจากกรอกแบบฟอร์มทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราอาจจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ? เช่น เราอาจจะต้องเสียภาษีจำนวนเพิ่มเท่านี้ บาท หรือไม่ก็ หายห่วงปีนี้ไม่ต้องเสียภาษี ก็ได้เช่นกัน
2. หากเรารู้ตัวว่า เราต้องเสียภาษีด้วยเงินจำนวนหนึ่งจากในข้อแรก
โดยอัตราภาษีเงินได้ของประเทศไทย จะไม่ได้หักเป็น % จากรายได้ง่ายๆแบบนั้น
แต่จะเป็นแบบขั้นบันได โดยผู้ที่เสียภาษีจะมีลำดับขั้นของเงินได้และอัตราดังนี้ไปเรื่อยๆ ตามอัตราดังนี้
- เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี)
- เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
- เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
- เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
- เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 (อัตราภาษี 20%)
- เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)
- เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)
- เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)
ต่อด้วยการเลือกแผนประกันที่เข้ากับอัตราการลดหย่อนภาษี การเลือกแผนประกันให้ครอบคลุมสิทธิ์หรือจำนวนการชำระภาษี จะเป็นผลประโยชน์มากที่สุด โดยทางโตเกียวมารีนประกันชีวิต จะแบ่งตามเรทดังนี้
- ต้องเสียภาษีไม่เกิน 25,000 บาท
ในส่วนนี้เราอาจจะพิจารณาเป็นซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพเหมาจ่าย หรือประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ ซึ่งจะค่อนข้างคุ้มครองภาษีในส่วนนี้ (อย่าลืมดูที่ประกันชีวิตต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปถึงจะลดหย่อนภาษีได้)
แผนประกันที่แนะนำมากที่สุด : ประกันสุขภาพเหมาจ่าย โตเกียว กู๊ด เฮลธ์
- เสียภาษีจำนวน 25,000 - 75,000 บาท ขึ้นไป
ในส่วนนี้เราอาจจะพิจารณาเป็นประกันชีวิตสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตตลอดชีพ ในเรทช่วงนี้ตัวเลือกจะค่อนข้างมากขึ้นและมีประกันชีวิตที่คุ้มค่ามากกว่าเดิม บวกกับเบี้ยประกันสุขภาพที่สามารถเสริมอัตราการลดหย่อนภาษีได้อีกขั้นด้วย
แผนประกันที่แนะนำมากที่สุด : แบบประกันโตเกียว แฮปปี้ เซฟวิ่ง 10/5 และ ประกันโตเกียว แทกซ์ เซฟเวอร์ 15/10
- เสียภาษีจำนวน 75,000 - 100,000 บาทขึ้นไป
ในส่วนนี้ตัวเลือกเยอะขึ้นจริงและอยู่ในช่วงที่คุ้มค่ามากที่สุด สามารถซื้อแผนประกันที่หลากหลายและตอบโจทย์ในแต่ละแผน ไม่ว่าจะเป็น ประกันตลอดชีพ ประกันลดหย่อนภาษี ประกันสะสมทรัพย์ และประกันสุขภาพ ซึ่งแผนประกันเหล่านี้ เราสามารถเลือกแผนที่่สามารถลดหย่อนภาษีได้เต็ม 100,000 บาท (ซึ่งรวมประกันสุขภาพ)
แผนประกันที่แนะนำมากที่สุด : ประกันโตเกียว แทกซ์ เซฟเวอร์ 15/10
- เสียภาษีในจำนวน 100,000 บาทขึ้นไป
ในตัวเลือกที่เราเสียภาษีประมาณนี้ ทางโตเกียวมารีนประกันชีวิต นอกจากจะแนะนำประกันชีวิตสำหรับลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 100,000 บาทแล้ว ยังมีประกันชีวิตบำนาญ เป็นหนึ่งในเทคนิคลดหย่อนภาษีที่มีความคุ้มค่ามากๆ เพราะสามารถ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3. ยื่นภาษี หลังจากสิ้นปีแล้ว
ทางรัฐบาลอาจจะมีการทำแคมเปญเชิญชวนใช้จ่ายต่างๆในช่วงนั้น ทางบริษัทประกันชีวิตและประกันภัยส่วนมาก จะทำการยื่นเอกสารชำระค่าเบี้ยให้กับทางกรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ เราไม่จำเป็นต้องทำการยื่นเอกสารใดๆเพิ่มเติม เมื่อถึงในช่วงกรอกประวัติและกรอกรายได้ต่างๆแล้ว ทางระบบของกรมสรรพากรจะทำการขึ้นค่าใช้จ่ายที่หักได้ทันที เราสามารถดูได้เลยว่า ประกันชีวิตและประกันสุขภาพตัวใดที่ลดหย่อน และลดหย่อนได้ถึงเท่าใดนั้นเอง
อีกหนึ่งช่องทางการลดหย่อนภาษี ที่ไม่รวมอยู่ในเรทสูงสุด 100,000 บาทสำหรับประกันชีวิต และสูงสุด 300,000 บาทสำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็จะเป็นการซื้อประกันสุขภาพให้กับบิดา-มารดา ซึ่งอาจจะเป็น ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันโรคร้ายแรง ที่อายุและค่าเบี้ยประกันภัยที่เพียงพอเพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้แก่ท่านได้ โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 25,000 บาท
หากมีคำถามหรือต้องการปรึกษาด้านประกันชีวิต สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : https://tokiomarine.co/tmlth-get-in-touch