-----------------------------
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ได้ออกมาเปิดเผยว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขของไทย พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ในบทความนี้ จะพาไปรู้จักสาเหตุและการป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจ และไปรู้ถึงการทำบอลลูนหัวใจ ผ่าตัดหัวใจ ว่ามีราคาเท่าไร และต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหัวใจอะไรอีกบ้าง พร้อมมีวิธีในการรับมือกับค่ารักษาพยาบาลอย่างเหมาะสมมาบอกกัน
อายุ : เมื่อมีอายุมากขึ้น จะส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงได้
เพศ : เพศชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิง โดยเพศหญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
พันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจด้วยเช่นกัน
โรคประจำตัว : ผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบกับหลอดเลือดหัวใจได้ง่าย เพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น
การสูบบุหรี่ : เนื่องจากสารนิโคตินทำให้หลอดเลือดของคุณมีสภาวะหดตัว รวมถึงก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่าย
การรับประทานอาหาร : อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและคอเลสเตอรอลสูง จะทำให้เกิดการสะสมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดการอุดตันหรือตีบตัน กลายเป็นโรคหัวใจได้
การไม่ออกกำลังกาย : ส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันและน้ำตาลในเลือดมากจนเกินไป ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้
ความเครียด : เป็นตัวกระตุ้นให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด ทำงานผิดปกติ จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจมากขึ้น
โรคหัวใจ เป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องใช้วิธีการรักษาที่หลากหลาย ตามแต่ชนิดของโรค ไม่ว่าจะเป็นการทําบอลลูนหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ หรือการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ซึ่งล้วนแต่มีราคาค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูง การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ รวมถึงลดโอกาสที่จะต้องสูญเสียเงินทองไปกับค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย โดยมีวิธีป้องกันที่สามารถทำได้ ดังนี้
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง รสชาติเค็มจัด หวานจัด
หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ลดความเครียด หากิจกรรมทำเพื่อสร้างความผ่อนคลาย
งดการสูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คือเทคนิคทางการแพทย์เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่ตีบตันจากการมีหินปูนหรือไขมันเกาะ โดยไม่ต้องผ่าตัด เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการทำบอลลูนหัวใจจะมีราคาค่ารักษาเริ่มต้นที่ 100,000 บาท
คือการผ่าตัดเปิดหน้าอก เพื่อทำการเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท โดยเป็นวิธีการรักษาที่จำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ซึ่งการผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว มีค่ารักษาอยู่ที่ประมาณ 150,000-1,000,000 บาทขึ้นไป
คือการผ่าตัดเปิดหน้าอก เพื่อต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจเส้นใหม่ เพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบ หรือตัน ช่วยให้เลือดเดินทางไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการผ่าตัดบายพาสหัวใจจะมีราคาค่ารักษาเริ่มต้นที่ 550,000 บาท
คือการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยการใช้ไฟฟ้าคลื่นความถี่สูง จี้ผ่านสายสวนหัวใจ เข้าไปยังจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า “SA-node” เพื่อให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่สมบูรณ์ และทำให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะที่เหมาะสม โดยถ้าหากสงสัยว่า จี้ไฟฟ้าหัวใจราคาเท่าไหร่ ต้องบอกว่าแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงพยาบาล โดยจะอยู่ที่ประมาณ 100,000-300,000 บาท
คือการผ่าตัดเปิดหน้าอก เพื่อใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งมีหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ หากพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เพื่อทำให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ โดยราคาเริ่มต้นที่ 20,000-500,000 บาท
คือการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วยที่เส้นเลือดแดงเอออร์ต้าโตเร็วกว่าปกติ จนมีความเสี่ยงที่จะปริแตกได้ง่าย การผ่าตัดหัวใจเพื่อรักษาเส้นเลือดแดงเอออร์ต้า จะมีราคาเริ่มต้นที่ 110,000-768,000 บาท
ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะช่วยให้ค้นพบความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อแพทย์สามารถแนะนำวิธีป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที รวมถึงช่วยให้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ได้อีกด้วย
ทำประกันโรคร้ายแรง เพื่อช่วยให้มีเงินทุนสำรองสำหรับค่ารักษาพยาบาล คลายความกังวลในยามที่ต้องเจ็บป่วยได้
นอกจากโรคหัวใจ ยังมีโรคร้ายแรงที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองแตกและอุดตัน โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดระยะสุดท้าย หรือโรคไตวายเรื้อรัง การทำประกันโรคร้ายแรง จึงช่วยให้หมดกังวลในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลได้
ดังนั้น อย่ารอช้ามาสร้างหลักประกันทางสุขภาพให้แก่ตนเองได้แล้ววันนี้ ด้วยการเลือกทำประกันโรคร้ายแรง (Early CI Care) จากโตเกียวมารีนประกันชีวิต คุ้มครองตั้งแต่ตรวจพบ ตัวช่วยทางการเงิน ให้คุณได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
ส่องค่ารักษาโรคหัวใจ สุดฮิตแสนแพง. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 จาก https://reviewprakan.com/blog/heart-disease-treatment
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน