-----------------------------
หลายคนคิดว่าแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะเกิดจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่ที่จริงแล้วมีหลายสาเหตุที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารขาดความสมดุล
แบคทีเรีย H.pylori (เอชไพโลไร) เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เยื่อบุในกระเพาะเสียหายได้
ไม่ว่าจะเป็นแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน ซึ่งเป็นยาบรรเทาปวด ลดไข้ แก้อักเสบ หากใช้เป็นประจำอาจจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเป็นแผลได้ จึงควรใช้ตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำเท่านั้น ไม่ควรรับประทานเองโดยพลการ
เมื่อตกอยู่ในภาวะเครียด ร่างกายจะสร้างกรดมากขึ้น และอาจจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารตามมาได้เช่นเดียวกัน
กินอาหารรสจัด มีกรดสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
แม้ว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารจะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนจนกว่าจะมีการส่องกล้องกระเพาะอาหาร แต่ก็มีอาการที่บ่งชี้ดังต่อไปนี้
ปวดท้องแบบแสบ ๆ บริเวณกลางท้อง มักเกิดขึ้นหลังอาหารหรือเวลาท้องว่าง
ท้องอืด รู้สึกแน่นหรือไม่สบายท้องหลังรับประทานอาหาร
คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหารที่เป็นกรดสูง เช่น อาหารเผ็ด หรืออาหารรสจัด
อุจจาระมีสีเข้มหรือมีเลือดปน อาจเป็นสัญญาณว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
อาเจียนเป็นเลือด เป็นอาการรุนแรงที่ควรพบแพทย์ทันที
หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
หากว่ามีอาการแผลในกระเพาะอาหาร สามารถบรรเทาอาการและความรุนแรงของโรคได้ดังต่อไปนี้
รับประทานยาฆ่าเชื้อ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ซึ่งจะต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
รับประทานยาลดกรด เป็นการปรับสมดุลและลดกรดในกระเพาะอาหาร แนะนำให้กินติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ เพื่อบรรเทาอาการ
ปรับอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดสูง รสเผ็ด หรือรสจัด รวมถึงการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อลดภาระให้กระเพาะอาหาร
การปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการกินจะช่วยเยียวยาและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสการเกิดอาการซ้ำ ดังต่อไปนี้
อาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม เนื้อปลา เนื้อไก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักและผลไม้ ข้าว แป้ง ขนมปัง ซึ่งช่วยลดการทำงานของกระเพาะ
อาหารที่มีไขมันต่ำ ลดความเสี่ยงการเกิดกรดในกระเพาะ เช่น อาหารต้ม นึ่ง
กล้วย มีสารที่ช่วยเคลือบกระเพาะอาหารและลดกรด
โยเกิร์ต ที่มีโปรไบโอติกช่วยรักษาความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร
พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ที่มีโปรตีนสูงและย่อยง่าย
แคร์รอต มีวิตามินเอสูง ช่วยในการฟื้นฟูเยื่อบุกระเพาะอาหาร
อาหารรสจัด เช่น อาหารเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด ซึ่งกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ
เครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรด ทำให้ปวดท้องได้
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอและเกิดแผลได้ง่าย
ของทอดและอาหารมัน ย่อยยากและกระตุ้นการหลั่งกรด
เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม ที่มีไขมันและสารปรุงแต่งสูง
ผลไม้ที่มีกรดสูง เช่น สับปะรด มะนาว ส้ม มะเขือเทศ
นอกจากนี้ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย โดยรับประทานอาหารทีละน้อย ไม่ต้องถึงกับอิ่ม และกินบ่อย ๆ รวมถึงการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยบรรเทาอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่ปล่อยปละละเลย หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจจะพัฒนาไปสู่โรคอื่น ๆ ที่มีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้
เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยอาจจะมีแสดงอาการอาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำเนื่องจากมีเลือดปน และอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางเรื้อรัง
กระเพาะทะลุ ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เมื่อกดบริเวณท้องส่วนบนจะรู้สึกเจ็บ เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด
ทางเดินอาหารอุดตัน ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร หรือรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน
มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการที่เซลล์เนื้อเยื่อแบ่งตัวผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุจากการที่มีแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง
โรคแผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่มีเวลาจำกัดหรือกลุ่มคนที่มุ่งทำงานจนลืมรับประทานอาหาร กลายเป็นความเจ็บป่วยที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่บ่อย ๆ หากต้องการแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล สามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่ายรายปี หรือประกันสุขภาพ OPD จากโตเกียวมารีนประกันชีวิตได้
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย โตเกียว กู๊ด เฮลธ์ ครอบคลุมทั้ง OPD และ IPD พร้อมคุ้มครองโรคร้ายแรง 18 โรค คุ้มครองยาวนานถึงอายุ 85 ปี ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษาพยาบาลที่เครือข่ายโรงพยาบาล
ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยนอก ไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถเลือกซื้อแบบ CO-pay เพื่อลดค่าเบี้ยประกันได้
สามารถใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุด 25,000 บาท ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง
อาการเมื่อเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 จาก https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/gastrointestinal-liver-th/peptic-ulcer-symptoms/
ปวดท้อง แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 จาก https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/gastrointestinal-liver-th/peptic-ulcer-causes/
แผลในกระเพาะอาหาร และการปฏิบัติตัว Peptic Ulcer. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 จาก https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/med/peptic-ulcer
รับประทานอย่างไร ? เมื่อเป็นโรคกระเพาะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 จาก https://www.sikarin.com/health/รับประทานอย่างไร-เมื่อ
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน