ทำความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงมะเร็ง
ก่อนจะไปดูวิธีป้องกันมะเร็ง เราควรเริ่มกันที่การทำความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจกลายเป็นต้นตอ กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้ายได้โดยไม่รู้ตัว โดยหลัก ๆ ปัจจัยเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ทางที่มีบทบาทในการเกิดมะเร็งมากที่สุด ได้แก่
ความบกพร่องทางพันธุกรรมจากประวัติครอบครัว สืบเนื่องจากประวัติของญาติสนิท คนใกล้ชิด โดยกลุ่มมะเร็งที่พบว่าสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้มีทั้งหมด 3 กลุ่มได้ แก่ กลุ่มมะเร็งในสตรี อย่างมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่, กลุ่มมะเร็งลำไส้ใหญ่ และกลุ่มมะเร็งในเด็ก
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสารก่อมะเร็ง อันเกิดจากสิ่งเร้ารอบด้าน เช่น แสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ทำลายเซลล์ผิวหนังลึกถึง DNA, การสัมผัสสารก่อมะเร็งอย่าง แร่ใยหิน เรดอน และสารเคมีบางตัวที่พบได้ทั้งจากการทำงาน รวมถึงการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อุปโภค-บริโภคบางอย่างอีกด้วย
ปัจจัยการดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง อันเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่หรือสูดดมควันมือสอง, การบริโภคอาหารแปรรูป เนื้อแดง รวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง, การไม่ออกกำลังกาย รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยง ซึ่งวิธีป้องกันมะเร็งที่ดีที่สุดอาจเริ่มจากการหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
3 อันดับมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทย
นอกจากจะได้รู้จักกับปัจจัยเสี่ยงก่อนไปดูวิธีป้องกันมะเร็งกันแล้ว เรายังได้นำ 3 อันดับโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทยมาฝากเพิ่มเติม เพื่อให้แต่ละคนสังเกตว่าการใช้ชีวิต รวมถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ของตัวเองนั้น มีโอกาสหรือเข้าข่ายที่จะเป็นกลุ่มมะเร็งยอดฮิตเหล่านี้หรือไม่
มะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับ เป็นอันดับ 1 ที่พบได้บ่อย โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-70 ปี ซึ่งในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ จนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะกินเวลามากจนทำให้ไม่สามารถรับการรักษาได้ทัน ส่งผลให้กลายเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตมากที่สุด
สาเหตุหลัก: ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ, การดื่มแอลกอฮอล์, รับสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin), การรับยาบางชนิด และการส่งต่อพันธุกรรม
2.มะเร็งปอด
อันดับที่ 2 ของมะเร็งที่พบได้บ่อยในไทย คือมะเร็งปอด โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ชายที่พฤติกรรมเป็นสิงห์นักสูบ รวมถึงกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ชิดและมีโอกาสรับควันมือสองสูง ซึ่งวิธีลดความเสี่ยงมะเร็งปอดนั้นก็แสดงให้เห็นได้ชัดเลยว่า ควรอยู่ห่างไกลจากควันพิษเหล่านี้ โดยอาการเริ่มแรกก็จะมีทั้งการไอแบบมีเสมหะและมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจดังและถี่ ตลอดจนความอยากอาหารที่ลดลง เป็นต้น
สาเหตุหลัก: การสูบบุหรี่, ควันบุหรี่มือสอง, การฉายรังสีบริเวณใกล้เคียงปอด, การส่งต่อทางพันธุกรรม, การสัมผัสกับก๊าซเรดอน แร่ใยหิน และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ
3.มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่เกิดได้ง่ายกับกลุ่มคนวัยทำงาน แต่ก็มีวิธีป้องกันมะเร็งกลุ่มนี้ได้ไม่ยากหากเข้าใจสาเหตุการเกิดอย่างแท้จริง โดยอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มักจะแสดงให้เห็นได้หลาย ๆ ประการ เช่น อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด และมีอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
สาเหตุหลัก: การรับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูปอื่น ๆ, น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน, ขาดการออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, มีประวัติเนื้องอกที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย และพันธุกรรม เป็นต้น
5 แนวทางเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ วิธีลดความเสี่ยงมะเร็งด้วยตัวเอง
ปิดท้ายด้วยวิธีลดความเสี่ยงมะเร็งที่รู้ไว้ก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเบาใจ เพียงแค่ต้องระวังบางพฤติกรรม พร้อมปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อเลี่ยงปัจจัยบางประการที่อาจทำให้คุณต้องเผชิญกับโรคที่ไม่อยากเป็น โดยเริ่มจาก 5 เช็กลิสต์ง่าย ๆ เหล่านี้!