-----------------------------
ตั้งแต่ค่าลดหย่อนพื้นฐาน หมวดประกัน เงินออม การลงทุน เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ และเงินบริจาค ดูลิสต์แล้วไปวางแผนภาษีกันเลย
ในทุก ๆ ปี เราจะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยที่ทางกรมสรรพากรจะกำหนดรายการลดหย่อนภาษีประจำปี เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งเราจะต้องมีการวางแผนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และในปี 2567 มีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง ไปดูลิสต์กันเลย
ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งคือ จำนวนเงินที่ได้ลดหย่อนภาษีจะถูกนำไปหักกับภาษีที่คำนวณแล้วโดยตรง เช่น ถ้าเสียภาษี 10,000 บาท ลดหย่อนได้ 5,000 บาท เท่ากับจะต้องเสียภาษีอีกแค่ 5,000 บาท แต่ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ ! เพราะค่าลดหย่อนต่าง ๆ ไม่ได้ไปหักที่ตัวเงินภาษี แต่จะไปหักลดหย่อนจากเงินได้ จนเหลือเป็นรายได้สุทธิ จากนั้นค่อยนำไปคำนวณภาษี ดังนี้
เงินได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่ายทางภาษี- ค่าลดหย่อน ตัวอย่างเช่น หากมีเงินได้ทั้งหมด 480,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 100,000 บาท และมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ อีก 70,000 บาท
เงินได้สุทธิ = 480,000 - 100,000 - 70,000 = 310,000 บาท
ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
อัตราภาษีของบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ทางเดียว จะคิดแบบขั้นบันได โดยมีรายละเอียดดังนี้
อัปเดตปี 2568
รวมภาษีจ่าย 8,500 บาท
หากว่าเสียภาษีเกิน ก็จะได้รับเงินคืนภาษีหลังจากยื่นภาษีไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง
ในกรณีที่มีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน เช่น รายได้จากการขายของออนไลน์ ค่าเช่า งานฟรีแลนซ์ สามารถเลือกคิดภาษีแบบเหมาได้ โดยคิดภาษีเฉพาะรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.5% (0.005) เช่น ขายของออนไลน์ได้ 2,000,000 บาท จะเสียภาษี 2,000,0000 x 0.005 = 10,000 บาท เหมาะกับผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ มากกว่า 1 ล้านขึ้นไป
ในปี 2568 กรมสรรพากรมีรายการลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นข้างต้นเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
· กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX)
ตามประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนสนหุ้นกลุ่มความยั่งยืนและมีมติอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX) โดยสามารถหักลดหย่อยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ดังนี้
1. หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของ เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดยจะต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX ภายในระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2568
2. หากบุคคลธรรมดาที่ถือหน่วยลงทุนในกองทุน LTF ได้สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท โดยในปีภาษี 2568 สามารถหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท และในปี 2569 – 2572 สามารถหักลดหย่อนได้ตามจริงปีละไม่เกิน 50,000 บาท
* หมายเหตุ: กองทุนการออมแห่งชาติ ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนบำนาญอื่น ๆ ที่เข้าข่าย รวมกันแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
โครงการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท
เป็นโครงการช้อปลดหย่อนภาษีประจำปี 2568 ที่ให้ประชาชนนำเอกสารยืนยันการใช้จ่ายในรูปแบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ได้ในช่วงตั้งแต่ 16 มกราคม 2568 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 มาใช้ลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับปีภาษี 2567 เท่านั้น สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
ค่าก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ชำระค่าจ้างก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่ให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนได้จำนวน 10,000 บาท ต่อทุกจำนวน 1,000,000 บาทตามที่จ่ายจริง แต่รวมค่าลดหย่อนแล้วไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เกินหนึ่งหลัง เฉพาะค่าก่อสร้างบ้านใหม่ตามสัญญาจ้างที่ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
· ค่าซ่อมบ้าน หักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 นั้น สามารถนำมาใช้ลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2567 เท่านั้น ได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินหนึ่งแสนบาท
· ค่าซ่อมรถ หักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถ หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถ ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 นั้น สามารถนำมาใช้ลดหย่อนสำหรับปีภาษี 2567 เท่านั้น ได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามหมื่นบาท
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
แหล่งอ้างอิง :
1. ค่าลดหย่อน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://shorturl.asia/IgsdD
2.รายการลดหย่อนภาษี 2567 กรมสรรพากร สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://shorturl.asia/FHMen
3.ความรู้เรื่องภาษีที่บุคคลธรรมดาควรทราบ | กรมสรรพากร สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.rd.go.th/62337.html
4.เลขที่ข่าว ปชส. 10/2568 เรื่อง กรมสรรพากรเชิญชวนใช้สิทธิ “Easy E-Receipt 2.0” ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท วันที่แถลงข่าว 13 มกราคม 2568
5.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 46) พ.ศ.2561
6.พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 768) พ.ศ. 2566
7.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
8. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
9.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 396) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสําหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
10.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 402) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
11.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 445) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขึ้นใหม่
12. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 450) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
13. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 452) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย
14.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 453) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าซ่อมแซมรถที่ได้รับความเสียหาย
15.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 454) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยื่น
16.ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 455) เรื่อง กำหนดวิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน