ประกันลดหย่อนภาษีมีกี่ประเภท?
วางแผนบริหารความเสี่ยงทางการเงินในปีหน้ากันได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ด้วยการเลือกแผนประกันที่มีข้อดี ทั้งการช่วยรับมือด้านความเสี่ยง หรือเหตุไม่คาดฝันที่ส่งผลกระทบต่อเงินเก็บ ในขณะเดียวกันประกันบางแผนก็ยังมีส่วนช่วยให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มอีกหนึ่งต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแผนประกันชีวิต เพราะสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้มากกว่าประกันรูปแบบอื่น ๆ โดยแบ่งได้เป็นประเภท ดังนี้
1. ประกันชีวิตทั่วไป
แผนประกันชีวิตทั่วไปมีความโดดเด่นเรื่องของขอบเขตความคุ้มครอง ครอบคลุมในกรณีที่ผู้ทำประกันประสบเหตุการณ์ไม่คาดฝันจนเสียชีวิต ทางบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญา โดยจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการจากไปของผู้ทำประกันไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง อย่างคนในครอบครัว หรือคู่สมรส เป็นต้น
ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่จะได้รับจากประกันชีวิตทั่วไปนั้น จะมีทั้งแบบประกันชีวิตตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ และการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน โดยจะมีรายละเอียดคร่าว ๆ ถึงความแตกต่างของประกันแต่ละประเภท ดังนี้
1.1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
ประกันชีวิตที่เน้นให้การคุ้มครองระยะยาว (ตลอดชีพ) มีจุดเด่นด้านเบี้ยประกันที่จ่ายได้ในราคาเบี้ยประกันภัยที่ต่ำ และเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยได้ เช่น จ่ายเบี้ยเพียง 20 ปีแรก แต่คุ้มครองยาวถึงอายุ 90 ปี เป็นต้น
1.2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา สามารถนำไปใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี เพื่อทำการลดหย่อนได้เช่นเดียวกัน โดยแผนประกันประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ค่าเบี้ยต่ำแต่ให้ความคุ้มครองสูง แต่จะไม่มีการให้เงินคืนระหว่างทาง และหากครบกำหนดคุ้มครองแล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่จะไม่ได้รับเงินคืน
1.3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
สำหรับใครที่สงสัยว่าจะมีประกันชีวิตที่ช่วยลดหย่อนภาษีมีประเภทที่ให้ความคุ้มค่าไปพร้อม ๆ กับการบริหารเงินออม ต้องบอกว่าประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ถือเป็นหนึ่งคำตอบนั้น
1.4. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked)
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครอง ควบคู่ไปกับการลงทุนในกองทุนรวม แม้จะไม่ได้การันตีผลตอบแทนแต่ก็ยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ได้รับการคัดสรรจากบริษัท ทั้งนี้เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
1) ส่วนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของบริษัทประกัน
2) ส่วนความคุ้มครอง
3) ส่วนที่นำไปลงทุน
เงื่อนไขของการนำประกันชีวิตทั่วไปมาลดหย่อนภาษี
สำหรับสิทธิ์การใช้ประกันชีวิตทั่วไปมาลดหย่อนภาษี สามารถลดได้สูงสุดถึง 100,000 บาทตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ส่วนใครที่มีคู่สมรสที่ทำประกันไว้ แต่ไม่มีรายได้ ก็จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนตามจริงเพิ่มเติม แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สิทธิ์ประกันแบบสะสมทรัพย์ที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้นั้น จะต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และเป็นประกันโดยบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ ถ้าแผนประกันที่ทำมีการจ่ายเงินคืนทุกปี จะต้องมีจำนวนเงินไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี หรือถ้าจ่ายตามช่วงเวลาก็ต้องได้จำนวนเงินไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา และถ้ามีการยกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิ์จากกรมธรรม์ประกันฉบับนั้นมาลดหย่อนภาษีได้อีก แถมยังต้องภาษีย้อนหลังทั้งหมดที่ได้รับการลดหย่อนไป บวกกับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของยอดภาษีที่ต้องจ่ายอีกด้วย
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ