ทุกวันนี้เรื่องราวความสำเร็จกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้ทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็มีบางเรื่องที่โดนใจใครหลายคนและการเดินทางของแอนดรูว์ หลี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นโดยไม่มีข้อกังขา การเดินทางของเขาเริ่มตั้งแต่หลบหนีออกจากประเทศของตัวเองในฐานะผู้อพยพด้วยการเดินทางที่เต็มไปด้วยอันตรายและความยากลำบาก ไปจนถึงการได้รับการกล่าวขวัญจากประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาว่าเป็น “เครื่องหมายแห่งความเป็นอเมริกา” เรื่องราวของเขาเป็นเรื่องของการต่อสู้กับอุปสรรค ความยากลำบาก ความยากจน การอุทิศตน คุณค่าของครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องเต็มราวที่เต็มไปด้วยความอุตสาหะและความหวัง
เรื่องราวของเขาเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2521 ณ หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึงในช่วงเวลาหลังสงครามเวียดนามไม่นาน รัฐบาลเวียดนามเพิ่งอนุญาตให้ครอบครัวไลออกนอกประเทศออกนอกประเทศเพื่อหลีกหนีจากชาติที่เสียหายจากสงครามโดยขอแลกกับทรัพย์สินของครอบครัวของเขา ครอบครัวที่มีสมาชิกทั้ง 8 คนรับข้อเสนอนั้น การตัดสินใจก้าวไปเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในครั้งนั้นเองที่เริ่มปูทางความสำเร็จให้กับบริษัทของครอบครัว คือบริษัท ชูการ์ โบว์ล เบเกอรี่
หลี่และครอบครัวของเขาขึ้นเรือที่แออัดพร้อมกับผู้อพยพอีก 143 ชีวิตรวมทั้งเด็กทารก ทะเลซัดเรือไปมาเป็นเวลายาวนานถึงหกคืน ข้าวของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ติดตัวมาก็ถูกโจรสลัดขโมยไปหมด เมื่อมาถึงชายฝั่งมาเลเซีย เรือถูกปฏิเสธมิให้เข้าฝั่ง รัฐบาลมาเลเซียไม่อนุญาตให้เรือของผู้อพยพขึ้นฝั่ง เจ้าหน้าที่ผลักดันให้ล่องเรือกลับออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีทีท่าว่าจะสิ้นหวัง แอนดรูว์ในวัย 30 ปีก็คิดแผนเสี่ยงตายขึ้นมาคือทำลายเรือทิ้งแล้วว่ายน้ำขึ้นฝั่ง หลายปีต่อมาเขายอมรับว่าตอนที่ว่ายน้ำขึ้นฝั่งมานั้น พวกเขาว่ายน้ำผ่านศพของผู้อพยพคนอื่น ๆ ที่พยายามว่ายน้ำเข้าฝั่งแต่ว่าล้มเหลว
ความช่างคิดและความเต็มใจที่จะเสี่ยงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีให้กับแอนดรูว์ในอนาคต
เมื่อหาหนทางขึ้นฝั่งได้ก็พากันไปที่ค่ายอพยพ ครอบครัวหลี่อาศัยร่วมกับผู้อพยพกว่า 53,000 คน ซึ่งหลี่กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ว่า “แย่มาก” พวกเขาอาศัยอยู่เช่นนั้นเป็นเวลา 9 เดือนกว่าที่สมาคมคาทอลิกประจำสหรัฐอเมริกาจะช่วยพวกเขาให้อพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโกปี พ.ศ. 2522 ก็ไม่ได้อยู่ง่ายกว่ากันมากนัก ด้วยการศึกษาอันน้อยนิดและยิ่งความรู้ภาษาอังกฤษยิ่งน้อยเข้าไปอีก แอนดรูว์และพี่น้องของเขาทำงานหามรุ่งหามค่ำในงานที่ต่ำต้อย เก็บเงินไว้เรียน ทั้งครอบครัวอาศัยอยู่รวมกันในอพาร์ตเมนต์ห้องเดียว
“เราไม่ได้ไปเที่ยวหรือใช้เงินเหมือนคนอื่น เราเก็บเงินลูกเดียว” แอนดรูว์กล่าวย้อนถึงสมัยนั้น
เขาแบ่งเวลาจากตารางงานที่แน่นเอี๊ยดและแสนเหนื่อยล้าเพื่อเข้าเรียนภาคค่ำเป็นเวลานานเกือบ 10 ปี ท้ายที่สุดแอนดรูว์ก็เรียนจบปริญญาตรีสาขาบัญชีการเงินในปี พ.ศ.2530 และที่น่าประทับใจยิ่งกว่านั้น ครอบครัวที่ยากจนแต่ขยันขันแข็งครอบครัวนี้ได้ออมเงินทุนมากพอที่จะเริ่มต้นธุรกิจเล็ก ๆ ได้ พวกเขาเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ชื่อว่าชูการ์ โบว์ล เบเกอรี่
ด้วยการอุทิศตน ความใฝ่ฝันและความมุ่งมั่น ร้านเบเกอรี่เล็ก ๆ แห่งนี้เติบโตจนกลายเป็นกิจการขายส่งโดยมียอดขายต่อปีราวสามพันล้านบาท ของหวานแสนอร่อยที่ผลิตจากที่นี่หามารถหาซื้อได้ตามร้านคอสต์โก ครูเกอร์และซุปเปอร์มาเก็ตวอลมาร์ตทั่วสหรัฐอเมริกา
หลี่เป็นยิ่งกว่าเศรษฐีธุรกิจที่สร้างตัวเอง เขาเชื่อในการระลึกถึงต้นกำเนิดของตัวเองและตอบแทนคืนให้กับสังคม คติประจำใจในชีวิตของเขาคือประโยคอันน่าจดจำที่ว่า “ถ้าคุณทำอะไรเพื่อตัวเอง สิ่งเหล่านั้นจะตายไปกับคุณ แต่ถ้าคุณทำอะไรให้ผู้อื่น สิ่งเหล่านั้นจะยังคงอยู่บนโลกนี้”
วันก่อน...แอนดรูว์ หลี่ ล่องทะเลอยู่บนเรือแคบ ๆ แออัดไปด้วยเหล่าผู้อพยพที่แสวงหาโอกาสเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น วันนี้ธุรกิจของครอบครัวที่ได้มาด้วยความยากลำบากกลายเป็นผู้จำหน่ายสินค้าขนมอบรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
ที่โตเกียวมารีน เราเข้าใจและตระหนักถึงคืนวันที่สร้างเรื่องราวความสำเร็จเป็นอย่างดี หากคุณกำลังเริ่มต้นธุรกิจหรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ มาพูดคุยกับเราเพื่อค้นพบว่าความเข้าใจของเรานั้นจะช่วยให้ธุรกิจของคุณสำเร็จมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร