เมื่อเกิดเหตุขึ้น ผู้ถือกรมธรรม์จะได้มีหลักประกันต่างๆ ช่วยเหลือคนที่เราห่วงใย จัดสรรสินทรัพย์หรือหนี้สินได้ แต่ว่าไม่ได้หมายถึงว่าต้องเสียชีวิตเท่านั้น ถึงจะได้เงินประกัน เพราะบริษัทประกันชีวิตทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนั้นมีแผนการรับประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ผลประโยชน์ต่างกัน รวมไปถึงค่าเบี้ยประกันภัยที่แตกต่างกันไปตามแผนประกันเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลาย
การทำประกันชีวิตนั้น มีความสำคัญต่อเราในทุกช่วงวัย ดังนี้
1. ความมั่นคงทางการเงิน
ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความความมั่นคงทางการเงินให้กับครอบครัว ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เงินประกันชีวิตที่จ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์ จะช่วยทดแทนรายได้ที่ผู้เอาประกันสูญเสียไป ช่วยให้ครอบครัวสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติสุข
2. วางแผนมรดก
ประกันชีวิตสามารถนำมาใช้ในการวางแผนมรดกได้ โดยผู้เอาประกันสามารถกำหนดให้เงินประกันชีวิต ตกเป็นมรดกแก่บุคคลที่ต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีมรดก
3. บริหารความเสี่ยง
ประกันชีวิตช่วยบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตของเรา เช่น ความเสี่ยงในการเสียชีวิต ความเสี่ยงในการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เป็นต้น
4. ออมทรัพย์
ประกันชีวิตบางประเภท เช่น ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ สามารถนำมาออมเงินได้ โดยเงินประกันชีวิตที่สะสมไว้ สามารถนำออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ
5. ช่วยลดหย่อนภาษี
เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ สูงสุด 300,000 บาทต่อปี
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันได้ ที่นี่
การลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิตนั้น สามารถทำได้โดยนำหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิต เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือสำเนาหน้ากรมธรรม์ประกันชีวิต ยื่นกับกรมสรรพากร โดยต้องระบุชื่อผู้เอาประกันและจำนวนเบี้ยประกันที่ชำระในแต่ละปี
นอกจากนี้
เบี้ยประกันสุขภาพสำหรับพ่อแม่ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ สูงสุด 15,000 บาทต่อปีต่อคน หมายความว่าสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของตนไปหักลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 15,000 บาทในปีนั้น โดยถ้ารวมทั้งเบี้ยของพ่อและแม่ ก็จะสามารถนำไปหักลดหย่อนได้รวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีนั่นเอง
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพสำหรับพ่อแม่
- ผู้เอาประกันภัยต้องมีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ตามกฎหมายของผู้มีเงินได้
- ผู้เอาประกันภัยต้องมีรายได้รวมไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้กับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
- ผู้มีเงินได้ต้องนำหลักฐานการชำระเบี้ยประกันสุขภาพ เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือสำเนาหน้ากรมธรรม์ประกันสุขภาพ ไปยื่นกับกรมสรรพากร
นอกจากนี้การทำประกันชีวิต อาจจะต้องทำความเข้าใจว่าเราต้องการความคุ้มครองด้านใดหรือให้ตอบโจทย์ในส่วนไหนเป็นสำคัญ เช่น ความคุ้มครอง เป็นมรดก หรือเพื่อสิทธิ์ลดหย่อนภาษี เป็นต้น เนื่องจากแผนประกันชีวิตในท้องตลาดมีให้เลือกค่อนข้างเยอะและตอบโจทย์ได้ค่อนข้างมาก ทำให้การตั้งเป้าหมายในการทำประกันชีวิต และค่าเบี้ยประกันภัยตั้งต้นเพียงสองอย่าง ก็สามารถหาแผนประกันที่ตอบโจทย์เราที่สุดได้แล้วนั้นเอง
ทั้งนี้ นอกจากเหตุผล 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าเราจะหาเหตุผลประกันชีวิตมาแบบใด หรือมีข้อดีอย่างไร การเลือกประกันชีวิตที่เหมาะสมกับจุดประสงต์การทำของเรานั้นยังไรก็ดีที่สุดเสมอ
หากใครที่กำลังมองหาประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแบบเพื่อการออม เพื่อความคุ้มครอง หรือเพื่อทำคู่กับประกันสุขภาพ สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อให้ทางโตเกียวมารีนประกันชีวิตช่วยคุณในการหาตัวแทนให้บริการได้ง่ายๆ