-----------------------------
“ภาษี” ยังคงเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ เพิ่งเริ่มมีรายได้เป็นของตนเอง อาจจะมีความสงสัยว่า แล้วเงินเดือนแบบตนเองนั้นต้องเสียภาษีไหม หรือเงินเดือนเท่าไรถึงต้องเสียภาษี รวมไปถึงถ้าไม่ยื่นภาษีจะมีผลอย่างไรบ้าง เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีให้มากขึ้น เราจะพาไปหาคำตอบเหล่านี้กัน
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิประจำปีของแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องนำรายได้ทั้งหมดในรอบปีภาษีมาหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่สามารถหักได้ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
สูตร รายได้ตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ
ตัวอย่าง
สมมติว่า นาย ก มีรายได้ต่อปีดังนี้
เงินเดือน 600,000 บาท
ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท
ค่าลดหย่อน 150,000 บาท (ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ฯลฯ)
นำมาคำนวณรายได้สุทธิ ดังต่อไปนี้
600,000 - 100,000 - 150,000 = 350,000 บาท
เมื่อได้รายได้สุทธิประจำปีแล้ว จึงนำไปเปรียบเทียบกับอัตราภาษีตามกฎหมาย
ช่วงเงินได้สุทธิ | รายได้สุทธิ | อัตราภาษี | จำนวนภาษีที่ต้องชำระ |
---|---|---|---|
1 - 150,000 | 150,000.00 | 0% | - |
150,001 - 300,000 | 150,000.00 | 5% | 7,500.00 |
300,001 - 500,000 | 50,000.00 | 10% | 5,000.00 |
500,001 - 750,000 | - | 15% | - |
750,001 - 1,000,000 | - | 20% | - |
1,000,001 - 2,000,000 | - | 25% | - |
2,000,001 - 5,000,000 | - | 30% | - |
5,000,001 ขึ้นไป | - | 35% | - |
วิธีการคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องใช้วิธีการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสีย = ((เงินได้สุทธิ - จุดเริ่มต้นของเงินได้สุทธิขั้นนั้น) x อัตราภาษีของตามขั้นของเงินได้สุทธิ) + ภาษีสะสมสูงสุดในขั้นก่อนหน้า
จากตัวอย่าง เงินได้สุทธิ 350,000 บาทอยู่ในขั้นที่ 3 จึงสามารถคำนวณภาษีที่ต้องเสียได้ ดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสีย = ((350,000 - 300,001) x 10%) + 7,500
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสีย = 12,4999.9
จากการคำนวณตามสูตรข้างต้น พบว่า นาย ก มีรายได้สุทธิไม่เกิน 350,000 บาท ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 หรือ คิดได้เป็น 12,500 บาท นั่นเอง
สำหรับผู้มีเงินรายได้สุทธิในอัตราที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่จ่ายภาษี หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะมีผลจากการกระทำที่แตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้เป็น ดังนี้
1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
2. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
3. กรณีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป ต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่ม และต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ แล้วแต่กรณี
4. กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร หากพยายามหลีกเลี่ยงภาษี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
5. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่าง
จากกรณีข้างต้นที่นาย ก ต้องเสียภาษี 12,500 บาท แต่ไม่ได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา โดยเกินกำหนดเป็นเวลา 2 เดือน จะต้องเสียค่าปรับ ดังนี้
รวม 2,000 บาท + 375 บาท = 2,375 บาท
ดังนั้น นาย ก ต้องเสียค่าปรับ 2,375 บาท และจะเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อยังไม่มีการชำระภาษีตามที่กำหนด
ควรต้องตระหนักไว้เสมอว่า การเสียภาษีเป็นหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดสำหรับผู้มีเงินได้ทุกคน การไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีถือเป็นความผิด ดังนั้น จึงต้องยื่นแบบภาษีทุกปีตามกำหนดเวลา หากมีรายได้เกินเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็จะต้องชำระภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายได้มีการกำหนดรายการลดหย่อนภาษีไว้ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าภาษี ให้แก่ผู้ที่มีรายได้ แต่มักจะมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนต่าง ๆ เป็นประจำ ดังนั้นจึงควรติดตามข่าวสารและศึกษาข้อมูล เพื่อนำค่าลดหย่อนมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
เนื่องจากกฎหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับภาษี มักมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง การติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ไม่พลาดข้อมูลสำคัญ และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การขึ้นอัตราภาษีใหม่ หลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นต้น
นี่คงทำให้เห็นแล้วว่าการเลี่ยงภาษีมีโทษที่จะต้องได้รับ อีกทั้งยังช่วยสร้างความตระหนักรู้ว่าการยื่นภาษีเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ทุกคนต้องทำ และสำหรับผู้มีเงินได้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี การซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ ที่สำคัญยังได้รับความคุ้มครองชีวิตอีกด้วย หรือมาเลือกซื้อประกันแผนที่ใช่ จากโตเกียวมารีนประกันชีวิต ได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้ารายบุคคล โทรศัพท์ 02-650-1400 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-20.00 น.
หากต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นภาษีและลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากบทความของโตเกียวมารีนประกันชีวิต ได้ที่นี่
ฟรีแลนซ์ ต้องยื่นภาษีแบบไหน ? มีรายการลดหย่อนอะไรบ้าง ?
เช็กลิสต์! เอกสารยื่นภาษีเงินได้ และรายการลดหย่อนภาษี 67
แหล่งอ้างอิง :
1. ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?. สืบค้นวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.rd.go.th/562.html
2. เตือนเรื่องค่าปรับ กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา. สืบค้นวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.rd.go.th/37392.htmlสรุปเทคนิคคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2567 จาก https://www.taxcount.co/how-to-calculate-pit/
3.คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 117/2545 เรื่องการนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 27 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 มาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่ง หรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ
4.คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 163/2567 เรื่องการนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผู้เขียนบทความนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตและประกันชีวิตบำนาญ ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งด้านประกันชีวิตและประกันสุขภาพสำหรับรายบุคคลและรายกลุ่ม เราได้ให้ทั้งคำปรึกษาและออกแบบแผนประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าของเราอยู่เสมอ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้ ทำให้ลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิตมั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์กับความคุ้มครองของคุณมากที่สุด ทำให้ผู้อ่านมั่นใจได้ว่าเนื้อหาทุกบทความจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของท่าน
ดูแผนประกันทั้งหมดของเราChoose your country or region
Visit HQ Pages
Visit Country Pages
Select your location and language
All
All
Asia Pacific
Australia
Americas
Europe
Singapore
Malaysia
Australia
You are currently on a site outside of your country Switch to external site?
Visit your local page. If you change your mind, you can use the dropdown at the top navigation to visit other Tokio Marine country pages.
ขณะนี้คุณอยู่ในเว็บไซต์นอกประเทศของคุณ เปลี่ยนไปใช้เว็บไซต์ประเทศของคุณไหม?
เยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศของคุณ หากคุณเปลี่ยนใจ คุณสามารถเลือกเมนูด้านล่าง เพื่อไปที่หน้าประเทศอื่นๆ ของโตเกียวมารีน